เกษตรกร​ใช้สิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกร​ วันที่​ 19​ มีนาคม​ 66

สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ประเภทผู้แทนเกษตรกร และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ จากที่ห่างหายจากการเลือกตั้งมาเป็นระยะเวลานานถึง 12 ปี โดยได้กำหนดให้วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม 2566 เป็นวันลงคะแนนเลือกตั้งพร้อมกันทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. 

ประวัติความเป็นมา

      กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดเป็นองค์กรสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตามที่พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ในประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  19 พฤศจิกายน 2553 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่  20 พฤศจิกายน 2553 โดยบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติดังกล่าว  กำหนดให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ รวมทั้งจัดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกรเพื่อให้ได้มาซึ่งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดชุดแรก  โดยการเลือกตั้งดังกล่าวได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วนั้น

       เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของเกษตรกร ในการผลิตและการตลาด รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มในรูปของสภาเกษตรกรเพื่อจะนำไปสู่การพัฒนาภาคเกษตรกรรมและระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอย่างยั่งยืนในอนาคต ดังนั้นเพื่อให้บรรลุตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญในการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเกษตรกรในการดำเนินกิจกรรมต่างๆเกี่ยวกับเกษตรกรรมจึงจำเป็นต้องพระราชบัญญัตินี้

      สภาเกษตรกร ประกอบด้วย 2 สภา คือ สภาเกษตรกรแห่งชาติและสภาเกษตรกรจังหวัด

สภาเกษตรกรแห่งชาติมีความสำคัญ  คือเป็นเวทีของเกษตรกรที่ได้เลือกผู้แทนเข้าไปทำหน้าที่ ในการสะท้อนปัญหาด้านการเกษตรไปสู่การพิจารณาของรัฐบาล เพื่อกำหนดเป็นนโยบายและแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือและสนับสนุนการประกอบอาชีพเกษตรกรรมของประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศ

      สภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 100  คน จากผู้แทน 3 ประเภท คือ

สมาชิกประเภทที่  1 ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด จำนวน 77 คน เป็นสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติโดยตำแหน่ง

สมาชิกประเภทที่  2 ตัวแทนองค์กรเกษตรกรด้านต่างๆ ซึ่งสมาชิกประเภทที่ 1 ได้ร่วมกันเลือกมา จำนวน 16  คน

สมาชิกประเภทที่  3 ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้าน เกษตรกรรมที่สมาชิกประเภทที่                              1 และสมาชิกประเภทที่  2 ได้ร่วมกันเลือกมา จำนวน 7 คน

             1. สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553                          ประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2553 มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณหรือกฎหมาย ซึ่งมีหน้าที่ประสานกับเกษตรกร องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการเกษตร ทั้งการผลิต แปรรูป ด้านการตลาด ตลอดจนกำหนดแผนพัฒนาเกษตรกรของจังหวัดรวมถึงคุ้มครองสิทธิของเกษตรกร และแก้ไขปัญหาด้านต่างๆเกี่ยวกับการประกอบอาชีพทางการเกษตรในระยะ 2 ปี นับแต่พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2553 (19 พฤศจิกายน 2553 ถึง 18 พฤศจิกายน 2555) ให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดทำหน้าที่หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด

สภาเกษตรกรจังหวัดมีอำนาจหน้าที่

  1. พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรภายในจังหวัด

  2. ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกร เกษตรกร สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ

  3. ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มขององค์กรเกษตรกร  กลุ่มเกษตรกรและยุวเกษตรกรในจังหวัดในรูปแบบต่างๆ

  4. เสนอแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับจังหวัดต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติเพื่อบูรณาการเป็นแผนแม่บทเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

  5. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา  การฝึกอบรม  และการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่เกษตรกรและยุว เกษตรกรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างครบวงจรและยั่งยืน

  6. เสนอนโยบายและแนวทางในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตรกรรมรวมทั้งราคาผลผลิตทางเกษตรกรรมที่ไม่เป็นธรรมต่อสภาเกษตรกรแห่งชาติ

  7. ให้คำปรึกษาและข้อแนะนำแก่เกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกร

  8. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการใดๆ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพระราชบัญญัตินี้

  9. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากสภาเกษตรกรแห่งชาติ

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *