วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องมหาธาตุ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ นางสาวสุกัญญา องค์วิเศษไพบูลย์ แรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธานเปิดการประชุมภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อสร้าง/พัฒนาเครือข่ายการปฎิบัติงานป้องกันการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การสร้างกลไกการรับแจ้งเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน การหาข่าวและการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดภายใต้โครงการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานไปสู่การปฎิบัติ จังหวัดเพชรบูรณ์ ประจำปีงบประมาณ พ..2567 โดยมีหัวหน้าส่วนราชการกระทรวงแรงงาน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน เครือข่ายแรงงาน อาาสมัครแรงงาน ภาคประชาชน NGO และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม จำนวน 40 คน การประชุมมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์การค้ามนุษย์ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ..2551และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ..2562 มาตรา 6/1โดยแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ รูปแบบการค้ามนุษย์และสถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยวิทยากรจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด การป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว โดยวิทยากรจากสำนักงานจัดหางานจังหวัดลักษณะแรงงงานบังคับที่เข้าข่ายการค้ามนุษย์และมาตรฐานแนวทางการดำเนินการคดีการบังคับใช้แรงงานหรือบริการโดยวิทยากรจากสำนักงานสวัสดิการแรงงานจังหวัด. การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการปฏิบัติงานป้องกันการบังคับใช้แรงงานและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานโดยวิทยากรจากสำนักงานแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์

นางธมนวรรณ สาราช นักวิชาการแรงงานชำนาญการกล่าวรายงานว่า การอบรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ในการเสริมสร้างองค์ความรู้เครือข่ายด้านการป้องกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ตลอดจนการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานมุ่งสู่การเป็น Tier 1 (ประเทศซึ่งรัฐบาลปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของกฏหมายTVPAโดยสมบูรณ์)ภายในปี 2571 ทั้งนี้สถานการณ์ของประเทศไทยกับการค้ามนุษย์มีความเกี่ยวข้องทั้งการส่งเด็กและหญิงไปค้าต่างประเทศรวมทั้งเป็นประเทศที่ใช้เป็นเส้นทางผ่านของการนำเด็กและหญิงไปค้าในประเทศอื่นๆและยังเป็นประเทศที่มีการนำเด็กและหญิงเข้ามาค้าหรือแสวงหาประโยชน์หรือมีการล่วงละเมิดสิทธิ สำหรับรูปแบบการค้ามนุษย์มีทั้งการผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การเอาคนลงเป็นทาส การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นๆ ในส่วนของรูปแบบของการค้ามนุษย์ประกอบด้วย การแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การผลิตหรือเผยแพร่วัตถุหรือสื่อลามก การเอาคนลงเป็นทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า การแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่นและการอื่นใดที่คล้ายคลึงกันโดยยินยอมหรือไม่ก็ตาม ส่วนสถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดเพชรบูรณ์ในปี 2566 พบเพียงการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น จำนวน 6 รายและข้อมูลการตรวจสอบสถานประกอบการเกี่ยวกับการบังคับใช้แรงงานหรือบริการและการค้ามนุษย์ด้านแรงงานหรือบริการย้อนหลัง 3 ปี(2562-2565) ไม่พบการบังคับใช้แรงงาน

การค้ามนุษย์” เป็นการหาผลประโยชน์จากเพื่อนมนุษย์โดยมิชอบ การค้ามนุษย์ มีหลายรูปแบบที่ควรได้รับการป้องกันแก้ไข โดยเฉพาะการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นการบังคับ ขู่เข็ญ ทำร้ายทั้งร่างกายหรือจิตใจ ยึดเอกสารประจำตัว เป็นต้น อย่าปล่อยให้เพื่อนมนุษย์ของเราถูกใช้เป็นเครื่องมือในการหาผลประโยชน์โปรดช่วยกันสอดส่องดูแล หากพบเห็นพฤติกรรมการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน แจ้งเบาะแสได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการค้ามนุษย์ด้านแรงงานจังหวัดเพชรบูรณ์ สำนักงานแรงงานจังหวัดฯ ศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ ชั้น 3 อาคาร 1 ตำบลสะเดียง อำเภอเมือง จ.เพชรบูรณ์ โทร. 056-729-766-7 อีเมล์:phetchabun@mol.mail.go.th หรือที่โทร 1506

วิริทธิ์พล หิรัญรัตน์์#รายงาน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *